“พุทธธรรมนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของชีวิตได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด”*

อัลบั้มสันตุสฺสโกวาท เฉลิมพระเกียรติ…28 กรกฏาคม

*ที่มา: หนังสือ “คู่มือชีวิต” โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทรงพระเจริญ

ภาพ-กิจการสงฆ์/ชื่อ: ระฆังมหามงคล แห่งวัดป่านาคำน้อย
ภาพ-กิจการสงฆ์/ชื่อ: ระฆังมหามงคล แห่งวัดป่านาคำน้อย

ระฆังมหามงคล แห่งวัดป่านาคำน้อย (ภาพ-กิจการสงฆ์ ข้างบน) พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสฺสโก กับหมู่คณะ หน้าระฆังมหามงคลประวัติศาสตร์ที่สร้างโดยในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี “ระฆังถือเป็นเครื่องหมายอาณัติศัญญาณที่ใช้เกี่ยวข้องกับกิจการของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อมีการเคาะระฆัง เสียงก็จะก้องกังวานดังไปถึงเทพยดาชั้นเบื้องบน ประกาศให้รู้ว่าเป็นการเคารพ เลื่อมใส บูชาในพระพุทธศาสนา” (คัดมาจาก รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม, สำนักงานโครงการ สร้างระฆังมหามงคลครองราชย์ ๖๐ ปี) ดังนั้นระฆังมหามงคลใบนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงความเกี่ยวข้องกับกิจการสงฆ์ คือความเป็นตัวตนของวัดป่านาคำน้อย นำโดยพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสฺสโก ซึ่งระฆังมหามงคลเปรียบเสมือน “ปัญญา (Wisdom)” ที่มีสาระทางธรรมและประโยชน์ทางโลก ส่องสว่าง เพื่อความสุข ความเจริญ และความรุ่งเรืองของสาธุชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งถ่ายทอดเผยแพร่เป็นธรรมทานออนไลน์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผ่าน “อัลบั้มสันตุสฺสโกวาท เฉลิมพระเกียรติ…28 กรกฏาคม” นี้ ที่พิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com “รักษ์ธรรมะป่า…ส่งเสริมธรรมทาน…ศูนย์ศึกษาธรรมะป่า” และนี่คือบันทึก “ธัมมวิจยะ-ธรรมะป่า เฉลิมพระเกียรติ” เพื่อธรรมะป่าเข้าถึงประชาชน ประชาชนเข้าถึงธรรมะป่า