รักษ์ธรรมะป่า…ส่งเสริมธรรมทาน…ศูนย์ศึกษาธรรมะป่า

รูปแบบการนำเสนอ อนุรักษ์ เผยแพร่ อ้างอิง และบรรณานุกรมข้อมูลมรดกธรรมะป่าและอื่นๆ

พิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com (นิพพานัง ดอท คอม)

   รูปแบบการนำเสนอข้อมูลออนไลน์ของพิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com มีจุดประสงค์หลักคือ ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ และเผยแพร่มรดกธรรมะป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ รวมถึงองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และอื่นๆ (Copyright © 2020 – 2021 nippanang.com All rights reserved.) เพื่อ “ธรรมะป่าเข้าถึงประชาชน ประชาชนเข้าถึงธรรมะป่า” ได้อย่างไพศาลทั่วโลกอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเศรษฐกิจพอเพียง และผลที่คาดหวังคือ การสืบทอดและดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ดังนั้นการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) จึงเป็นไปในรูปแบบของอีบุ๊คเชิงวิชาการบนเว็บไซด์ (Academic E-Book Based Website) คือเป็นระบบเรียนรู้ออนไลน์ (Online Virtual Learning System) บนโครงข่ายของเว็บเพจ ซึ่งประกอบด้วยการอนุรักษ์ การเผยแพร่ อ้างอิง และบรรณานุกรม และเริ่มต้นที่หน้าหลักคือ “หน้าแรก” ด้านบนประกอบด้วย สารบัญ คำนำ เมนูหลัก ลิงค์ และบรรณานุกรม สำหรับประโยชน์สำคัญของบรรณานุกรมคือ เพื่อให้เครดิตที่มาของข้อมูล เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้สาธุชนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สำหรับการบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลดำเนินตามการบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางวิชาการโดยสากล

การสร้างโครงข่ายเว็บเพจ “บรรณานุกรม” มีจุดประสงค์คือ 1). เพื่อใช้บันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลที่อนุรักษ์เก็บไว้หรือที่นำเสนอเผยแพร่ 2). เพื่อใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างเป็นระบบระเบียบ และ 3). เพื่อการเข้าถึงและดาวน์โหลดข้อมูลที่อนุรักษ์จัดเก็บอยู่บนระบบจัดเก็บ (Storage) ข้อมูลของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) บน World Wild Web ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ของพิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com หรือผ่านศูนย์บริการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ระบบคลาวด์ (Cloud Storage) หรือคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ของดรอปบ็อกซ์ดอทคอม (Dropbox.com) ในชื่อบัญชีผู้ใช้บริการคือพิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com  ยกตัวอย่างการใช้เว็บเพจบรรณานุกรมเพื่อการอ้างอิงบนโครงข่ายเว็บเพจ ด้านล่างของ “หน้าแรก” เป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการธรรมะป่าออนไลน์ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสันตุสฺสโก…27 เมษายน หนังสือแนะนำ ธรรมะป่า เป็นต้น มีการใช้ลิงค์ชื่อว่า “ที่มา-อ้างอิง-จากลิงค์: บรรณานุกรม” เพื่ออ้างอิงและเพื่อเข้าถึงการบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ บนเว็บเพจบรรณานุกรม ลิงค์ที่ใช้อ้างอิงของแต่ละข้อมูลนี้ดูเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันคือ เปิดสู่เว็บเพจบรรณานุกรมที่มีการบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ต่างกันบนโครงข่าย ยกตัวอย่างการสร้างเว็บเพจ “บรรณานุกรม” บนโครงข่ายของข้อมูล “มรดกธรรมะป่า” เพื่อนำมาใช้ในการอ้างอิงนั้น มีการบันทึกและจัดกลุ่มแหล่งที่มาของข้อมูลคือ กำหนดแบ่งกลุ่มตามชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นต้น และนี่คือรูปแบบการนำเสนอ อนุรักษ์ เผยแพร่ อ้างอิง และบรรณานุกรม เพื่อส่งเสริมการศึกษาและธรรมทานออนไลน์บนโครงข่ายเว็บเพจลักษณะคล้ายอีบุ๊ค (E-Book) เชิงวิชาการของพิพิธภัณฑ์สันตุสฺสโก (ออนไลน์) ที่ nippanang.com